จะทำในวัน 3 ค่ำของเดือน 3 มีกำหนด 2 วัน ในวันแรกเป็น " วันจม " ผู้หลักผู้ใหญ่ในแต่ละบ้านจะเชิญวิญญานเจ้าที่ผีบ้าน ออกมาชุมนุมที่ " ผำ หรือ ซุ้มผี " ณ ลานสาธารณะกลางหมู่บ้าน เพื่อทำการเซ่นไหว้ด้วยเหล้า อาหารและขนม โดยพิธีการเหยา จะกระทำโดยหมอเหยาจำนวนกว่าสิบคน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นหญิงสูงวัยที่ได้รับการสืบทอดให้เป็นหมอเหยา คาดศรีษะด้วยผ้าสีแดงเป็นเอกลักษณ์ ฟ้อนรำไปตามทำนองเพลงจากเสียงแคนและการให้จังหวะจากกลอง ขบวนของหมอเหยาและนักดนตรีจะฟ้อนแหแหนไปรอบๆ " ผำ " หรือ " ซุ้มผ๊ " จนจบในตอนเย็น
ในวันสุดท้ายเป็น " วันฟู " หมอเหยาจะเอาใจภูตผีวิญญานด้วยการละเล่นต่างๆ เช่น ขี่ช้างขี่ม้าขี่เสือ และจบด้วยการพาผีไปอาบน้ำ " สระสนาน " ก่อนที่จะพายเรือพาผีล่องเรือกลับบ้าน เป็นอันจบสิ้นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับผี พิธีกรรมสุดท้ายของงาน ก็คือ การตั้งขบวน " แห่ดอกไม้ส่งเมือง " เพื่อเอาความดีความงามกลับเข้าสู่บ้านเมือง เมื่อพิธีจบลง หมอเหยาก็จะทำพิธีผูกแขนให้กับผู้ร่วมงาน ก่อนที่แต่ละฝ่ายจะแยกย้ายกันกลับบ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น